วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาแอพลิเคชั่นบนแอนดรอย ด้วยภาษาไพธอน ตอน การเขียนสั่งสั่นเครื่อง

สวัสดีครับ สำหรับวันนี้นำเอาวิธีการพัฒนาแอพลิเคชั่นบนแอนดรอยมาฝากท่านทั้งหลาย โดยปกติการพัฒนาแอพลิเคชั่นบนแอนดรอยนิยมใช้ภาษาจาวา แต่ทั้งนี้เราสามารถพัฒนาแอพลิเคชั่นจากภาษาอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยทางกูเกิ้ลมีโปรเจ็ค SL4A หมายถึง Script Language for Android ซึ่งมีหลายภาษาที่สนับสนุนได้แก่ ไพธอน, รูบี้, พีเอชพี, และอื่น ๆ

สิ่งที่ต้องการ
- โปรแกรมภาษาไพธอนสำหรับแอนดรอย http://code.google.com/p/python-for-android/
- โปรแกรม SL4A ดาวน์โหลดได้จาก http://code.google.com/p/android-scripting/downloads/list

โปรแกรมสำหรับสั่งให้สั่นเครื่อง 100 ms
import android
droid = android.Android()
droid.vibrate(100)

คำอธิบาย
คำสั่ง import android เป็นการขอใช้งานไลบรารี่ android ซึ่งในไลบรารี่นี้จะมีชุดคำสั่งเพื่อควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จำนวนมาก ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละคำสั่งในได้จากคู่มืออ้างอิง

บรรทัด droid = android.Android() หมายถึงการสร้างอ็อบเจ็คหรืออินสแตนท์ ชื่อ droid ท่านสามารถตั้งชื่ออื่นได้ เพราะเป็นเพียงการประกาศชื่ออ็อบเจ็คเท่านั้น และอ็อบเจ็คนี้เกิดจากคลาส Android() ซึ่งอยู่ภายในไลบรารี่ android

บรรทัด droid.vibrate(100) เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชั่น vibrate() โดยส่งพารามิเตอร์หรืออาร์กิวเมนต์ให้กับฟังก์ชั่น vibrate ด้วยระยะเวลามีหน่วยเป็นมิลลิเซค

หวังว่าท่านจะสนุกกับการพัฒนาแอพลิเคชั่นบนแอนดรอยด้วยภาษาไพธอนครับ พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

แหล่งข้อมูล
http://code.google.com/p/python-for-android/
http://code.google.com/p/android-scripting/downloads/list

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น